สรุป SDGs การพัฒนาที่ยั่งยืน
สรุปและสรุปสาระสำคัญของ SDGs หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน
นับถอยหลังสำหรับการสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ ของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ก็อีกไม่กี่วันแล้วนะคะ ก็เป็นกำลังใจให้กับคนที่กำลังอ่านหนังสือสอบอยู่นะคะ ในบทความนี้ก็เลยทำสรุปใจความสำคัญของ SDGs ที่น่าจะใช้เป็นแนวทางสำหรับอ่านสอบในครั้งนี้ค่ะ
- SDGs (Sustainable Development Goals) คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ่โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ของ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกัน
- ซึ่งก็คือเป้าหมายของทั่วโลก ที่มุ่งจะขจัดความยากจน ปกป้องสิ่งแวดล้อม สันติภาพของมนุษย์ และความเจริญในทุกพื้นที่
- กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) มีกรอบระยะเวลา 15 ปี
เริ่มตั้งแต่ ปี 2558 -ถึงเดือนสิงหาคม 2573 (ค.ศ. 2015 – 2030)
//*** อันนี้เคยออกข้อสอบ โดยถามว่า SDGs มีกรอบระยะเวลาดำเนินการกี่ปี? *** ระวังจะสับสนกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ค่ะ
- SDGs มีทั้งหมด 17 Goals โดย กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบใน 2 เป้าหมายหลัก คือ
Goal 1: No Poverty คือ ยุติความยากจนในทุกรูปแบบและทุกที่
Goal 11: Sustainable Cities and Communities คือ ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทาน และยั่งยืน
- SDGs ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มหลัก หรือที่เรียกว่า (5 P) ประกอบด้วย People, Prosperity, Planet, Peace, Partnership
//*** อันนี้เคยออกข้อสอบ โดยถามว่า… ในหลัก SDGs ข้อใดที่ไม่ได้อยู่ใน 5 P?
- มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับ ด้วยเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้คน, ความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และครอบคลุม, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สันติภาพ สถาบันที่เข้มแข็ง และความยุติธรรม, การเป็นหุ้นส่วนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
- กลุ่ม People ที่ว่าด้วยเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้คน (เป้าหมายที่ 1, 2, 3, 4, 5)
- กลุ่ม Prosperity ที่ว่าด้วยเรื่องความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและครอบคลุม (เป้าหมายที่ 7, 8, 9, 10, 11)
- กลุ่ม Planet ที่ว่าด้วยเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เป้าหมาย 6, 12, 13, 14, 15)
- กลุ่ม Peace ที่ว่าด้วยเรื่อง สันติภาพ สถาบันที่เข้มแข็ง และความยุติธรรม (เป้าหมาย 16)
- กลุ่ม Partnership ที่ว่าด้วยเรื่องการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมาย 17)
ความสำคัญของ SDGs
1. สอดคล้องกับ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” หรือ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP: Sufficiency Economy Philosophy) การเดินหน้าไปสู่ความยั่งยืนนั้น จะต้องเริ่มจากการสร้างสมดุลในการพัฒนา หรือ “Thriving in Balance” ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักคิดของคนให้ถูกต้อง และปรับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาให้ถูกทาง เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ผ่าน 3 ระบบเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Ecosystem) อันประกอบด้วย
- ระบบเศรษฐกิจแบบไหลเวียน (Circular Economy)
- ระบบเศรษฐกิจแบบกระจายตัว (Distributive Economy)
- ระบบเศรษฐกิจนวัตกรรม (Innovation-Driven Economy)
เพื่อสร้างสมดุลให้เกิดขึ้น ทั้งระหว่าง “คน กับ ธรรมชาติ” “คน กับ คน” และ “คน กับ เทคโนโลยี” ซึ่งทั้ง 3 ระบบเศรษฐกิจดังกล่าว สอดรับกับ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย
2. SDGs เป็นแนวทางและปัจจัยสนับสนุน ในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12, นโยบายรัฐบาลและกระทรวงต่างๆ
- กระทรวงมหาดไทย SDGs มีความสอดคล้องกับ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข”
- กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดหลักการของ SDGs ไว้ใน แผนปฏิบัติราชการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2561 – 2565
3. เป้าหมายของ SDGs ในปี ค.ศ. 2030 มีความสอดคล้องกับ ASIEAN Community Vision 2025 ใน 5 เรื่อง ประกอบด้วย
- ขจัดความยากจน
- โครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมต่อ
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
- การบริโภคและการผลิต
- ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
**********************
Good Luck! โชคดีในการสอบนะคะ ^_^